วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

แนวทางของการศึกษากายวิภาคศาสตร์มนุษย์

ปัจจุบัน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะแบ่งออกเป็นสองแบบ คือการศึกษาเฉพาะในแต่ละส่วน (Regional approach) และการศึกษาในแต่ละระบบอวัยวะ (Systemic approach)

กายวิภาคศาสตร์มนุษย์เฉพาะส่วน

ภาพ บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ทุลพ์
โดย
แรมบรังด์แสดงภาพของการสาธิตการชำแหละศพ
ในสมัยศตวรรษที่ 17
โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายของมนุษย์จะถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน ได้แก่
  • ศีรษะและลำคอ (Head and neck) ได้แก่ส่วนของร่างกายที่อยู่เหนือต่อช่องอก
  • รยางค์บน (Upper limbs) ซึ่งรวมตั้งแต่ส่วนของไหล่ ต้นแขน ศอก ปลายแขน ข้อมือ และมือ
  • หลัง (Back) คือโครงสร้างส่วนที่อยู่โดยรอบกระดูกสันหลังตั้งแต่ส่วนคอถึงก้นกบ
  • ทรวงอก (Thorax) คือบริเวณตั้งแต่ส่วนที่อยู่ด้านล่างต่อลำคอ จนถึงกะบังลม
  • ช่องท้อง (Abdomen) คือบริเวณตั้งแต่กะบังลมจนถึงขอบเชิงกรานและเอ็นขาหนีบ (inguinal ligamant)
  • อุ้งเชิงกรานและฝีเย็บ (Pelvis and perineum) ได้แก่บริเวณที่อยู่ใต้ขอบเชิงกรานลงไปจนถึงแผ่นปิดเชิงกราน (pelvic diaphragm) ส่วนฝีเย็บเป็นบริเวณโดยรอบทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งอยู่ใต้แผ่นปิดเชิงกราน
  • รยางค์ล่าง (Lower limbs) คือส่วนที่อยู่ใต้ต่อเอ็นขาหนีบ ซึ่งได้แก่ต้นขา เข่า น่อง ข้อเท้า จนถึงเท้า

ภาพสแกนโดยการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์
แสดงภาคตัดขวางของศีรษะของมนุษย์
ในระนาบที่ผ่าน
เบ้าตาสมองกลีบขมับ และซีรีเบลลัม

กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ในแต่ละระบบ

มนุษย์ประกอบด้วยระบบของอวัยวะทั้งหมด 10 ระบบ ซึ่งได้แก่
  • ระบบเครื่องห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary system)
  • ระบบหัวใจหลอดเลือด (Cardiovascular system)
  • ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system)
  • ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
  • ระบบขับถ่าย (Excretory system)
  • ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system)
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal system)
  • ระบบประสาท (Nervous system)
  • ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)
  • ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น